วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

01/09/58 :: บันทึกการเรียนรู้


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 ( 1 กันยายน 2558 )
ส่งแบบสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นของแบรนด์ ไร่วินวิว
ทำ Art work แบบเก่า
ทำการจำแนกรายละเอียดของตัวอัตลักษณ์เก่า
ส่งแบบโลโก้ใหม่ที่ออกแบบให้อาจารย์ตรวจเบื้องต้น
Present งานกลุ่ม

การบ้าน
หาข่าวเกี่ยวกับอัตลักษณ์พร้อมแปลสรุปจัดเรียงให้สวยงามใส่ใน Dire
     ฟและ Blog คนละ 3 ข่าว
หาข้อมูล ส.1 สืบค้น เพิ่มเติม พร้อมทำการอธิบาย
ไปดูงาน สมุนไพร แห่งชาติที่ อิมแพ็ค อารน่า เมืองทองธานี
     งานจัดตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2558
เตรียมหาผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อมาทำเป็นแบรนด์ของตนเอง


วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

25/08/58 :: บันทึกการเรียนการสอน


พี่ๆมาจากเว็บไซด์ Buffohero.com เป็นเว็บไซด์สำหรับหางาน และที่ฝึกงาน โดยเราสามารถสมัครเว็บไซด์ลงรายละเอียดข้อมูลว่าเราต้องการฝึกงานหางานที่ใด ในเว็บไซด์จะมีผู้ที่รับสมัครมาลงงานในตำแหน่งต่างๆในเว็บไซด์
สมัคร Pinterest.com เข้าไปติดตามอาจารย์ Prachid Tinnacutr เลือกติดตาม Pin ที่ตัวเองสนใจ

ให้ดูบล็อกและงาน Art Work ของมือปืน

การบ้าน
- หาข่าวเกี่ยวกับอัตลักษณ์ พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน เริ่มตั้งแต่ อาทิตย์หน้าเป็นต้นไป
- จัดการแก้ไขบล็อกเกอร์ของตัวเองให้เรียบร้อย
- MoodBorad พรีเซนต์งาน ขนาด 50 cm x 70 cm

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ผลิตภัณฑ์แบรนด์ "ไร่วินวิว"


ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ของจังหวัดสิงห์บุรี

ผู้ประกอบการ Brand "ไร่วินวิว"
ชาแก่นตะวัน (แก่นตะวันอบแห้ง)

เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์ "ไร่วินวิว"
คุณเหมวดี คงคามี
ที่อยู่ 20  หมู่ที่ 9  ตำบลบ้านหมอ  อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16120
เบอร์ติดต่อ : 087-606-2249












13/08/58 :: บันทึกการลงพื้นที่หาข้อมูล


ลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูล ผลิตภัณฑ์ "สมุนไพร"
ที่ได้รับมอบหมาย ณ จังหวัด สิงห์บุร


ตัวแทนกลุ่มได้เดินทางไปสำรวจหาผลิตภัณฑ์
ณ งาน "ศิลปาชีพประทีปไทยโอทอปก้าวไกลด้วยพระบารมี ครั้งที่ ๔"
อาคารชาเรนเจอร์ฮอล์ อิมแพ็คอารีน่าเมืองทองธานี
และได้ไปที่บูทของจังหวัดสิงห์บุรี พร้อมหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชน
ที่เป็นตัวแทนมาแสดงงาน











ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์ และเครื่องหมายสัญลักษณ์

Comporate  ldentity Design

ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์
และเครื่องหมายสัญลักษณ์

ในด้านการตลาด อัตลักษณ์องค์กร หรืออัตลักษณ์กลุ่มบริษัท (Corporate identity) เป็นรูปแบบที่เป็นอัตลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งถูกออกแบบ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งแสดงออกมาทางในรูปแบบของแบรนด์และการใช้งานเครื่องหมายการค้า

แม้ว่าเรื่องของอัตลักษณ์ จะไม่ใช่สิ่งเดียวที่เกี่ยวกับแบรนด์ (เพราะแบรนด์ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ) แต่เรื่องของ แบรนด์กับอัตลักษณ์ เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นควบคู่กันอยู่เสมอ เราสามารถสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นได้ด้วยกานสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ ซึ่งสามารถสื่อสารออกมาได้ ส่วนด้วยกัน คือ
● การสร้างอัตลักษณ์ผ่านทางภาพ (Visual Identity)
● การสร้างอัตลักษณ์ผ่านทางพฤติกรรม (Behavioral Identity)
● และการสร้างอัตลักษณ์ผ่านการพูด (Verbal Identity)

                การออกแบบสร้าง อัตลักษณ์” ให้กับองค์กร หรือแบรนด์เป็นงานที่ยากยิ่ง เพราะไม่ใช่เป็นเพียงการออกแบบ โลโก้” ให้สวยงามแล้วจบ แต่สิ่งที่เราต้องการคือ อัตลักษณ์ด้นภาพที่จะสื่อสารถึงจุดยืน + บุคลิกภาพ รวมถึงวิสัยทัศน์ของแบรนด์ จากนั้นค่อยพัฒนาต่อในเรื่องระบบการใช้โลโก้+การใช้ตัวอักษร + การใช้สี + การใช้ภาพ +++ อื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กร มีอัตลักษณ์ตามที่ต้องการ






รูปภาพจาก http://www.designknock.com/wp-content/uploads/2012/11/Full-Color-Corporate-Identity-Design.jpg



วิสาหกิจชุมชน


วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนอาจจะเป็นคำใหม่ที่หลายๆ คนยังไม่เข้าใจ และเข้าใจผิดไปว่าเป็นการช่วยเหลือของภาครัฐในด้านการสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพเหมือนหลายๆ โครงการที่ผ่านมา ซึ่งวิสาหกิจชุมชน เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ขนานไปกับเศรษฐกิจกระแสหลัก อันเนื่องมาจากว่าเศรษฐกิจกระแสหลักก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้ของประชาชนและก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย
วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า วิสาหกิจชุมชนนั้นสามารถใช้คำว่า ธุรกิจชุมชนแทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกันแต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า วิสาหกิจชุมชนเช่นเดียวกับ รัฐวิสาหกิจที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น


ลักษณะของวิสาหกิจชุมชน

จากความหมายของวิสาหกิจชุมชนข้างต้นนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 อย่างด้วยกัน
ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน คือ

                1. ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการเอง แต่อย่างไรก็ดี คนนอกอาจมีส่วนร่วมโดยอาจมีการถือหุ้นได้
    เพื่อการมีส่วนร่วม ร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่หุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจ
2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน ซึ่งอาจจะนำวัตถุดิบบางส่วนมาจากภายนอกได้
    แต่เน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด
3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งมีความรู้
    ภูมิปัญญา หากมีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเกิดมีความเชื่อมั่นในตัวเองก็จะริเริ่มสร้างสรรค์
    สิ่งใหม่ๆ ได้โดยไม่เอาแต่เลียนแบบหรือแสวงหาสูตรสำเร็จ
4. มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานทุนที่สำคัญ
               เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับประยุกต์ให้ทันสมัย ผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาสากล
               หรือจากที่อื่น
5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ทำแบบโครงการเดี่ยว
   คล้ายกับปลูกพืชเดี่ยว แต่เป็นการทำแบบวนเกษตร คือ มีหลายๆกิจกรรมประสานผนึกพลัง (synergy)
   และเกื้อกูลกัน (cluster)
6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก การเรียนรู้คือหัวใจของกระบวนการพัฒนา วิสาหกิจชุมชน
    หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะมีแต่การเลียนแบบ การหาสูตรสำเร็จโดยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
    หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะไม่มีวิสาหกิจชุมชนบนฐานความรู้ แต่บนฐานความรู้สึก ความอยาก
    ความต้องการตามที่สื่อในสังคมกระตุ้นให้เกิด ทำให้ความอยากกลายเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิต
    ไปหมด
7. มีการพึ่งตนเองเป็นเป้าหมาย การพึ่งตนเองคือเป้าหมายอันดับแรกและสำคัญที่สุดของวิสาหกิจชุมชน
   ถ้าหากพลาดเป้าหมายนี้คือพลาดเป้า วิสาหกิจชุมชนจะกลายเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายที่กำไรก่อนที่จะคิด
   ทำให้รอด ไม่พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนให้เกิดความมั่นคงก่อนที่จะก้าวไปพัฒนาธุรกิจ


11/08/58 :: สรุปการเรียนครั้งที่ 1


การบ้าน

ให้นักศึกษาสำรวจ หาข้อมูล และสอบถามผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ประเภทสมุนไพรเพื่อสุขภาพมาคนละ 1 ผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสิงห์บุรี ให้สอบถามผู้ประกอบการ เก็บข้อมูลของสินค้านั้นๆ และขอนำตัวอย่างสินค้า เพื่อใช้ในการการเรียนการสอนในสัปดาห์ต่อไป

ข้อมูลที่ต้องใช้เกี่ยวกับผู้ประกอบการณ์หรือเจ้าของแบรนด์
สมุนไพร
สุขภาพ
ความงาม
เครื่องดื่ม

แบ่งกลุ่มกระจายออกตามจังหวัด เพื่อหาผู้ประกอบการณ์ตามชุมชน หมู่บ้าน ภายในตำบลต่างๆ
เสาะหาประเภทของสินค้าที่ทำจากสมุนไพรว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท นำสินค้ามาวิเคราะห์หาจุดด้อยของสินค้า
ดูชื่อของแบรนด์ การใช้ชื่อใช้แบบตัวอักษร ภาษาที่ใช้ และหาความหมายของการจดทะเบียนสินค้าทางการค้า
>สมุนไพร >สินค้าทั่วไป