Comporate ldentity Design
ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์
และเครื่องหมายสัญลักษณ์
ในด้านการตลาด อัตลักษณ์องค์กร หรืออัตลักษณ์กลุ่มบริษัท (Corporate identity) เป็นรูปแบบที่เป็นอัตลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งถูกออกแบบ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งแสดงออกมาทางในรูปแบบของแบรนด์และการใช้งานเครื่องหมายการค้า
แม้ว่าเรื่องของอัตลักษณ์ จะไม่ใช่สิ่งเดียวที่เกี่ยวกับแบรนด์ (เพราะแบรนด์ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ) แต่เรื่องของ แบรนด์กับอัตลักษณ์ เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นควบคู่กันอยู่เสมอ เราสามารถสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นได้ด้วยกานสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ ซึ่งสามารถสื่อสารออกมาได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
● การสร้างอัตลักษณ์ผ่านทางภาพ (Visual Identity)
● การสร้างอัตลักษณ์ผ่านทางพฤติกรรม (Behavioral Identity)
● และการสร้างอัตลักษณ์ผ่านการพูด (Verbal Identity)
การออกแบบสร้าง “อัตลักษณ์” ให้กับองค์กร หรือแบรนด์เป็นงานที่ยากยิ่ง เพราะไม่ใช่เป็นเพียงการออกแบบ “โลโก้” ให้สวยงามแล้วจบ แต่สิ่งที่เราต้องการคือ อัตลักษณ์ด้นภาพที่จะสื่อสารถึงจุดยืน + บุคลิกภาพ รวมถึงวิสัยทัศน์ของแบรนด์ จากนั้นค่อยพัฒนาต่อในเรื่องระบบการใช้โลโก้+การใช้ตัวอักษร + การใช้สี + การใช้ภาพ +++ อื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กร มีอัตลักษณ์ตามที่ต้องการ
รูปภาพจาก : http://www.designknock.com/wp-content/uploads/2012/11/Full-Color-Corporate-Identity-Design.jpg
วิสาหกิจชุมชน
วิสาหกิจชุมชน “วิสาหกิจชุมชน”
อาจจะเป็นคำใหม่ที่หลายๆ คนยังไม่เข้าใจ
และเข้าใจผิดไปว่าเป็นการช่วยเหลือของภาครัฐในด้านการสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพเหมือนหลายๆ
โครงการที่ผ่านมา ซึ่งวิสาหกิจชุมชน เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ขนานไปกับเศรษฐกิจกระแสหลัก อันเนื่องมาจากว่าเศรษฐกิจกระแสหลักก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้ของประชาชนและก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย
วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ
ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกันแต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง
แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร
ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก
โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้
ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร
ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้
และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว
หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ
ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก
การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น
ลักษณะของวิสาหกิจชุมชน
จากความหมายของวิสาหกิจชุมชนข้างต้นนั้น
วิสาหกิจชุมชนจึงมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 อย่างด้วยกัน
ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน คือ
1. ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการเอง
แต่อย่างไรก็ดี คนนอกอาจมีส่วนร่วมโดยอาจมีการถือหุ้นได้
เพื่อการมีส่วนร่วม ร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือ
แต่ไม่ใช่หุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจ
2.
ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน
ซึ่งอาจจะนำวัตถุดิบบางส่วนมาจากภายนอกได้
แต่เน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด
3.
ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งมีความรู้
ภูมิปัญญา
หากมีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเกิดมีความเชื่อมั่นในตัวเองก็จะริเริ่มสร้างสรรค์
สิ่งใหม่ๆ
ได้โดยไม่เอาแต่เลียนแบบหรือแสวงหาสูตรสำเร็จ
4.
มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานทุนที่สำคัญ
เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับประยุกต์ให้ทันสมัย
ผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาสากล
หรือจากที่อื่น
5.
มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ไม่ใช่ทำแบบโครงการเดี่ยว
คล้ายกับปลูกพืชเดี่ยว
แต่เป็นการทำแบบวนเกษตร คือ มีหลายๆกิจกรรมประสานผนึกพลัง (synergy)
และเกื้อกูลกัน
(cluster)
6.
มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก การเรียนรู้คือหัวใจของกระบวนการพัฒนา
วิสาหกิจชุมชน
หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะมีแต่การเลียนแบบ
การหาสูตรสำเร็จโดยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะไม่มีวิสาหกิจชุมชนบนฐานความรู้
แต่บนฐานความรู้สึก ความอยาก
ความต้องการตามที่สื่อในสังคมกระตุ้นให้เกิด
ทำให้ความอยากกลายเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิต
ไปหมด
7.
มีการพึ่งตนเองเป็นเป้าหมาย
การพึ่งตนเองคือเป้าหมายอันดับแรกและสำคัญที่สุดของวิสาหกิจชุมชน
ถ้าหากพลาดเป้าหมายนี้คือพลาดเป้า
วิสาหกิจชุมชนจะกลายเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายที่กำไรก่อนที่จะคิด
ทำให้รอด ไม่พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนให้เกิดความมั่นคงก่อนที่จะก้าวไปพัฒนาธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น